มหา ลัย วิทยาลัย เกษตรศาสตร์

มหา ลัย วิทยาลัย เกษตรศาสตร์

มหา ลัย วิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาวิชาการเกษตร พัฒนาเมื่อ พ.ศ. 2460 เป็น “โรงเรียนฝึกหัดชาวนาเบื้องต้น” ต่อมาได้ขยายและขยายเป็นมหาวิทยาลัยแต่งตั้งพนักงานประจำให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ พลโท สิงห์ คำรณนาวิน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และเป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จนถึง พ.ศ. 2489 เปิดสอนหลักสูตร 5 ปี และหลักสูตรการศึกษาชั้นนำ 3 ปี เพื่อรับปริญญาบัตร ที่ตายตัว. แต่งตั้งพนักงานประจำเป็นผู้อำนวยการหลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นพนักงานประจำคนแรก

หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจนี้ ถือเป็น 1 ใน 3 บูรพาจารย์สำคัญของมหาวิทยาลัย อีกสองท่านคือ พระช่วงเกษตรศิลปะการ และหลวงอิงคศรีกสิการ ท่านเหล่านี้ล้วนมีคุโณปการต่อวงการเกษตรและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการก่อตั้งวิทยาเขตอื่นๆ ต่อมาอีก 6 แห่งคือ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่กว่าวิทยาเขตบางเขนถึง 10 เท่า ก่อตั้งในปี 2515 วิทยาเขตศรีราชา ก่อตั้งปี 2535 วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งปี 2539 วิทยาเขตสุพรรณบุรี ปี 2541 ส่วนวิทยาเขตลพบุรี และวิทยาเขตสารสนเทศกระบี่ กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้ง

ปัจจุบันสถาบันนี้ได้พัฒนาการเรียนการสอนให้ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชามากขึ้น อย่างเช่น สาขาวิทยาศาสตร์อาหาร ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศที่มีการเรียนการสอนสาขานี้ มีการจัดตั้งคณะที่เน้นให้ความรู้สำหรับผู้ที่ต้องการไปทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะ มีการเรียนการสอนนอกสถานที่เพื่อให้นักศึกษาได้ทดลองปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ เช่น ที่ฟาร์มโคนม จังหวัดราชบุรี และที่วิทยาเขตต่างๆ

สัญลักษณ์ มหา ลัย วิทยาลัย เกษตรศาสตร์

มหา ลัย วิทยาลัย เกษตรศาสตร์ รูป “พระพิรุณทรงนาค” อยู่กึ่งกลางวงกลมล้อมรอบด้วยกลีบบัวคว่ำและกลีบบัวหงาย มีข้อความว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486” ล้อมรอบเป็นชั้นนอกสุด “ต้นนนทรี” เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของ ม.เกษตรมาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้กราบบังคมทูลเชิญพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาหาต้นไม้สัญลักษณ์ โดยครั้งนั้นมีต้นไม้ 4 ชนิดที่ถูกเสนอ ได้แก่ นนทรี ทองกวาว ราชพฤกษ์ และพิกุลแต่ที่ประชุมได้ลงมติเลือกต้นนนทรี เพราะเป็นไม้ยืนต้น อายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้นทนทานทุกสภาพอากาศของเมืองไทย ซึ่งมีความหมายว่า นิสิตเก่า ม.เกษตร นั้นมีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถทำงานได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในไร่นาป่าเขาทั่วประเทศไทย

ค่าใช้จ่าย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้ระบบเหมาจ่ายโดยในหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ ค่าธรรมเนียมภาคละ 2,500 บาท ยกเว้นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่จะต้องบวกค่าธรรมเนียมพิเศษคณะอีก 2,000 บาท รวมเป็น 4,500 บาท ส่วนหลักสูตรที่เป็นภาคพิเศษนั้นจะเหมาจ่ายสูงขึ้น ได้แก่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ) อุตสาหกรรมเกษตร (ภาคพิเศษ) และเศรษฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) 10,000 บาท วิศวกรรมศาสตร์ (ภาคพิเศษ) และบัญชี (ภาคพิเศษ) 11,000 บาท รัฐศาสตร์ (ภาคพิเศษ) นิติศาสตร์ (ภาคพิเศษ) และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (ภาคพิเศษ) 12,000 บาท ภาษาอังกฤษ (ภาคพิเศษ) 13,000 บาท และคณะวิศวกรรมศาสตร์ (นานาชาติ) 23,000 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน

ศูนย์หนังสือ มก. วิทยาเขตบางเขน และศูนย์หนังสือ มก. วิทยาเขตกำแพงแสน จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการทางการศึกษาอันได้แก่ หนังสือ สื่อการเรียนการสอนแก่นิสิต คณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และบุคคลภายนอก มีบริการสั่งซื้อหนังสือจากต่างประเทศเพื่อใช้ประกอบการเรียนด้วย สำนักบริการคอมพิวเตอร์ จัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บริการสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการของมหาวิทยาลัย ให้บริการอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นิสิต มีคอมพิวเตอร์ ให้บริการตามห้องสมุดและตามคณะต่างๆ

ห้องสมุด ในบางคณะจะมีห้องสมุดประจำคณะด้วย เพื่อให้นิสิตค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการเรียนการสอน บริการ Edutainment Media Square (EMS) ซึ่งเป็นช่องทางเข้าสู่บริการเครือข่ายมัลติมีเดียของทางมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นการประชุม หรือพูดคุยออนไลน์ ดูหนังหรือทีวีออนไลน์ และการฟังเพลงหรือรับฟังวิทยุออนไลน์

สถานีวิทยุ มก. ซึ่งก็คือวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตรและบริการชุมชน แต่ในคณะเดียวกันก็มีจุดประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมหาวิทยาลัย และให้นักศึกษาได้ฝึกงานในการจัดทำรายการวิทยุด้วย

สถานพยาบาล มก. ให้บริการปฐมพยาบาลแตะตรวจโรคทั่วไปแก่นักศึกษาที่เจ็บป่วย รวมทั้งให้บริการทางด้านทันตกรรม ด้านกายภาพบำบัด ตรวจและให้หนังสือรับรองสุขภาพ ให้คำแนะนำและปรึกษาด้านจิตเวช และจัดเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านการแพทย์ โดยมีแพทย์พยาบาลประจำอยู่ตลอดเวลาราชการ

โรงอาหาร ที่วิทยาเขตบางเขน มี 2 แห่งคือที่ โรงอาหารกลาง 1 (บาร์ใหม่) ตั้งอยู่ใกล้สระว่ายน้ำจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เป็นโรงอาหารติดแอร์ ส่วนอีกแห่งคือ โรงอาหารกลาง 2 (สมก.) ตั้งอยู่เยื้องอาคารสารนิเทศ 50 ปี ทั้งสองที่จำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จและตามสั่งทุกชนิด และมีร้านค้าปลีก พร้อมที่จอดรถสะดวกสบาย

ร้านค้าสหกรณ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแก่นิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ที่ ถ.จันทรสถิตย์ ใกล้ประตู 2

ร้านจำหน่ายสินค้าสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตั้งอยู่ที่สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิทยาเขตบางเขน จำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่มีคุณภาพของสถาบัน นอกจากนี้ยังมีร้านโครงการหลวงดอยคำ จำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการหลวง ตั้งอยู่ที่หน้าหอพักนิสิตหญิง ถ. ระพีสาคริก

มีธนาคารทหารไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาย่อย และที่ทำการไปรษณีย์ ที่วิทยาเขตบางเขน สนามกีฬาและสระว่ายน้ำจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์

บริการรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีหลายสายแล้วแต่เส้นทาง วิ่งรับ-ส่งนิสิต บุคลากรและบุคคลภายนอก พอพักนักศึกษา ที่ ม.เกษตร บางเขน มีหอพักสำหรับทั้งชายและหญิง จำนวน 18 หลัง แต่จำนวนห้องมีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับนักศึกษาที่บ้านอยู่ต่างจังหวัดหรือมีปัญหาจริงๆ

ชีวิตนักศึกษา

ที่วิทยาเขตบางเขนมีประตูเข้าออกหลายทางซึ่งเปิดตลอดเวลา บางครั้งยังเปิดเส้นทางให้ใช้เป็นทางลัดด้วย ประตูที่นิยมเข้าออกได้แก่ ประตูงามวงศ์วาน 1 และประตูใหญ่ การเดินทางไปเรียน มีรถประจำทางมากมายที่ผ่าน เช่น รถปรับอากาศ ปอ.24 ปอ.13 ปอ.39 ปอ.114 รถประจำทางสาย 39 26 59 หรือไม่ก็เดินทางโดยรถไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน แล้วต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถตู้เอาอีกที

ในบางคณะลักษณะการเรียนจะเป็นเดินเรียน ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนอาคารเรียน ซึ่งนักศึกษามักใช้วิธีปั่นจักรยานนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็มีรถบัสและรถสองแถวคอยให้บริการนักศึกษาระหว่างตึกที่บางครั้งอาจอยู่ไกลกันมากและอากาศร้อน

ม.เกษตรเป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบสายรหัสทำให้รุ่นพี่รุ่นน้องมีความรักใคร่สนิทสนมกัน นักศึกษาจะนินมนั่งเป็นโต๊ะๆ รวมเพื่อนๆ ที่เรียนสาขาเดียวกัน หากมีเวลาว่างก็มักจะเข้าห้องสมุด เดินเซ็นทรัลลาดพร้าว เมเจอร์รัชโยธิน หรือไม่ก็เดินเดอะมอล์งามวงศ์วาน ส่วนชีวิตนักศึกษาที่วิทยาเขตอื่นๆ ก็มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่อาจจะไม่มีแหล่งชอปปิ้งมากเท่าในกรุงเทพฯ ดังนั้นนิสิตที่อยู่วิทยาเขตต่างจังหวัดจึงมักพักผ่อนหย่อนใจด้วยการเที่ยวชมธรรมชาติกันเสียมากกว่า มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น งานรับน้อง Freshy Night Freshy Day ซึ่งพี่ๆ จะมอบเหรียญที่ระลึกประจำรุ่นให้กับน้องๆ นอกจากนั้นยังมีงานลอยกระทง และงานเกษตรแฟร์

 

บทความที่เกี่ยวข้อง